วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

หลักภาษาไทย

     หลักการใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย             
            ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน
            พ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง)สระ 21 รูป (32 เสียง)วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจาก บาลี และ สันสกฤต

           
 
คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง และมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลและยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปี และจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

            หากแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ถูกต้อง อีกทั้งวัยรุ่นกลับมองว่าการใช้ภาษาที่ผิดกลายเป็นเรื่องของแฟชั่นที่ใคร ๆ ก็ทำกันทำให้เกิดภาษาใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายบนโลกอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่าภาษาแชท(Chat) ขึ้น และถ้าหากคนในสังคมไทยยังคงใช้ภาษาไทย เขียนภาษาไทยแบบผิดๆ และไม่คิดใส่ใจที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ต่อไปอาจทำให้เกิดความเคยชินจนติดนำมาใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน จนทำให้ภาษาไทยที่เป็นรากเหง้าของคนไทย ความภาคภูมิใจในภาษาที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้นมา ภาษาที่มีความสวยงาม ก็คงต้องเลือนหายไป และถูกแทนที่ด้วยภาษาแปลกๆที่ผุดขึ้นมาบนโลกอินเตอร์เน็ตอย่างเช่นในปัจจุบัน

            ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำเว็บไซต์ ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในการสื่อสาร เพื่อย้ำเตือนและให้ความรู้ในการใช้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติและเป็นความภาคภูมิใจให้คงอยู่ในสังคมไทยสืบไป

            หลักการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต

            ๑. ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า “ปอก” กับ “ปลอก” สองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า “ปอก” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า “ปลอก” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ “วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ” (ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี



            ๒. ใช้คำให้เหมาะสม เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น “ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า “ยังไง” เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้ “อย่างไร” “เมื่อสมชายเห็นรูปก็โกรธ กระฟัดกระเฟียด มาก (ควรใช้ โกรธปึงปัง เพราะกระฟัดกระเฟียดใช้กับผู้หญิง) 
            ๓. การใช้คำลักษณนาม ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น 
            ๔. การเรียงลำดับคำ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัดเรียงไว้ในประโยค เช่น แม่เกลียดคนใช้ฉัน ฉันเกลียดคนใช้แม่ คนใช้เกลียดแม่ฉัน แม่คนใช้เกลียดฉัน ฉันเกลียดแม่คนใช้ แม่ฉันเกลียดคนใช้ 
ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้ - เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร) - เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย) - เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา (ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)
            ๕. แต่งประโยคให้จบกระแสความ หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบของประโยคบางส่วนไป เช่น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว(ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)
            ๖. ใช้ภาษาให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้ เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ 2 ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง
            ๗. ใช้ภาษาให้สละสลวย ใช้ภาษาอย่างไพเราะราบรื่น ฟังไม่ขัดหู และมีความกะทัดรัด 
                - ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น “วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน” คำว่า “ทำการ” เป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น “วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน”
                - ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้ “หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” (ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”
                - ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ เช่น “มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป” (ควรแก้เป็น “เขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)

                ข้อสังเกตและจดจำในการเขียนภาษาไทย

                ๑. หลักการประวิสรรชนีย์ในภาษาไทย - คำที่ขึ้นต้นด้วยกระ/กะ ในภาษาไทยให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กระเช้า กระเซ้า กระแส กระโปรง กระทรวง กระทะ กระพริบ กะปิ เป็นต้น
                ๒. คำที่เป็นคำประสมที่คำหน้าก่อนเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ - เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน, ฉันนั้น เป็น ฉะนั้น, ฉันนี้ เป็นฉะนี้, หมากม่วง เป็น มะม่วง, สาวใภ้ เป็น สะใภ้, วับวับ เป็น วะวับ, เรื่อยเรื่อย เป็น ระเรื่อย เป็นต้น
                ๓. คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ตัวท้ายที่ออกเสียง อะ ต้องประวิสรรชนีย์ 
                    - เช่น ศิลปะ มรณะ สาธารณะ วาระ เป็นต้น
                ๔. คำที่พยัญชนะต้น ออกเสียงอะ แต่ไม่ใช่อักษรนำ ต้องประวิสรรชณีย์ 
                    - เช่น ขะมุกขะมอม ขะมักเขม้น ทะเล่อทะล่า เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น